แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 6 พลังงานความร้อนและความเข้มแสง
เรื่อง พลังงานความร้อน จำนวน 2 คาบ / สัปดาห์ สอนครั้งที่ 1
วันที่ ..... พฤศจิกายน พ.ศ.2552 โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์
ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9) จำนวนนักเรียน 45 คน /ห้อง
ผู้สอน นางสาวปวีณา รอดเจริญ ค.บ.4 วิทยาศาสตร์
______________________________________________________________________________
มาตรฐานการเรียนรู้ ว.5.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงานปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ
พลังงานความร้อน เป็นพลังงานที่สามารถถ่ายเทจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เมื่อวัตถุถูกดูดกลืนพลังงานความร้อนจะทำให้วัตถุมีอุณหภูมิสูงขึ้นจึงเกิดการถ่ายเทพลังงานความร้อนให้กับวัตถุอื่นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ซึ่งต้นกำเนิดของพลังงานความร้อนมาจากดวงอาทิตย์
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนจำแนกพลังงานความร้อนได้ถูกต้อง
จุดประสงค์นำทาง
1.นักเรียนอธิบายพลังงานความร้อนกับอุณหภูมิได้ถูกต้อง
2.นักเรียนระบุพลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสารได้ถูกต้อง
สาระการเรียนรู้
พลังงานความร้อน
1.พลังงานความร้อนกับอุณหภูมิ
2.พลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสาร
กระบวนการเรียนรู้
1.ขั้นอธิบายพลังงานความร้อนกับอุณหภูมิ
1.1 จัดแบ่งนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 9 กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-9 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน (ใช้ใบรายชื่อเป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่ม)
1.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดาน แล้วตั้งคำถามจำนวน 2 คำถาม
นักเรียนทราบไหมว่าพลังงานความร้อนคืออะไร
นักเรียนทราบไหมว่าแหล่งของพลังงานความร้อนอยู่ที่ไห
1.3 อธิบายเนื้อหา พลังงานความร้อนกับอุณหภูมิบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียนลงสมุดของนักเรียนทุกคน
1.4 ปฏิบัติภาระงาน โดยให้ทำทุกคน
บทที่ 7 พลังงานความร้อนและความเข้มของแสง
พลังงานความร้อน เป็นพลังงานที่สามารถถ่ายเทจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
พลังงานความร้อนกับอุณหภูมิ
อุณหภูมิ (Temperature) คือ ระดับความร้อนในวัตถุ อุณหภูมิเป็นปริมาณที่บอกให้ทราบว่าวัตถุต่างๆร้อนหรือเย็นมากน้อยเพียงใด เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ คือ เทอร์มอมิเตอร์
1.เทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer) เป็นเครื่องมือช่วยขยายขอบเขตของประสาทสัมผัสทางผิวกาย ใช้วัดระดับความร้อนหรืออุณหภูมิของสิ่งต่างๆ
- เทอร์มอมิเตอร์ มีหลายมาตราแต่ที่นิยมใช้ คือ องศาเซลเซียส (°C)
- ลักษณะของเทอร์มอมิเตอร์ เป็นหลอดแก้วยาวปลายทั้งสองข้างปิด ปลายหลอดข้างหนึ่งเป็นกระเปาะซึ่งบรรจุของเหลวที่ขยายตัว (รับความร้อน) และหดตัว (รับความเย็น) ส่วนมากของเหลว คือ ปรอทสีเงิน
2.การเปลี่ยนหน่วยอุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์
- เปลี่ยนจากองศาเซลเซียสเป็นเคลวิน
สูตร K = °C + 273
ตัวอย่าง นักเรียนอ่านอุณหภูมิจากเทอร์มอมิเตอร์ได้ 18 (°C) ในหน่วยของเคลวินจะอ่านค่าได้เท่าไร
แทนค่า K = °C + 273
K = 18 + 273
K = 291 ตอบ
- เปลี่ยนจากองศาเซลเซียสเป็นองศาฟาเรนไฮต์
สูตร ° F – 32 = °C
9 5
ตัวอย่าง นักเรียนอ่านอุณหภูมิจากเทอร์มอมิเตอร์ได้ 18 (°C) ในหน่วยของเคลวินจะอ่านค่าได้เท่าไร
แทนค่า ° F – 32 = °C
9 5
° F = 18 * 9 +32
5
° F = 64.4 ตอบ
3.การใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิ
1.จุ่มเทอร์มอมิเตอร์ในของเหลวที่ต้องการวัด โดยให้แท่งเทอร์มอมิเตอร์อยู่ในแนวดิ่ง
2.ให้กระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์จุ่มอยู่ในของเหลว โดยไม่ให้ตัวกระเปาะสัมผัสกับภาชนะที่ใช้บรรจุ
3.ในการอ่านค่าของอุณหภูมิต้องรอให้ระดับของอุณหภูมิคงที่ก่อนจึงจะอ่านค่าให้อยู่ในระดับสายตา
1.5 สะท้อนความคิดของนักเรียนให้เข้าใจถึงเรื่องพลังงานกับอุณหภูมิ
1.6 ถามคำถามเพิ่มเติม
1.7 ประเมินผลสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
2.ขั้นระบุพลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสาร
2.1 จัดแบ่งนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 9 กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-9 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน (ใช้ใบรายชื่อเป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่ม)
2.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดาน แล้วตั้งคำถามจำนวน 2 คำถาม
นักเรียนทราบไหมว่าพลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสารคืออะไร
นักเรียนทราบไหมว่าสถานะของสารมีกี่ประเภท
2.3 อธิบายเนื้อหาเรื่อง พลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสารบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียนการทดลองชุดกิจกรรมที่ 7.1ลงสมุดของนักเรียนทุกคน
พลังงานวามร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสาร
พลังงานความร้อนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสาร เช่น การเปลี่ยนอุณหภูมิ ขนาดของวัตถุและการเปลี่ยนสถานะ แต่ในการเปลี่ยนสถานะของสารนั้น เมื่อเพิ่มพลังงานความร้อนให้กับสารอุณหภูมิของสารจะไม่เพิ่ม แต่สถานะจะเปลี่ยนไปแสดงว่าสารได้นำพลังงานความร้อนที่ได้รับไปใช้ในการเปลี่ยนสถานะ เรียกว่า ความร้อนแฝงของสาร
ปริมาณความร้อนที่นำไปใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารจำนวน 1 กิโลกรัม เรียกว่า ค่าความร้อนแฝงจำเพาะของสาร
ในการเปลี่ยนสถานะของสารจะมีความสัมพันธ์กับพลังงานความร้อน 2 ลักษณะคือ ดูด, คายพลังงานความร้อนของแสง
การดูดพลังงานความร้อนของสาร คือ สารนั้นต้องการใช่พลังงานความร้อนในการเพิ่มอุณหภูมิหรือเปลี่ยนสถานะโดยการสลายแรงยึดเหนี่ยวของอนุภาค
การคายพลังงานความร้อนของสาร คือ สารนั้นไม่ต้องการใช้พลังงานความร้อน แต่ต้องการลดอุณหภูมิและเปลี่ยนสถานะโดยการสร้างแรงยึดเหนี่ยวของอนุภาค
ประโยชน์จากการเปลี่ยนสถานะของสาร
1.ทำให้เกิดวัฎจักรของน้ำ
2.ทำให้มีตู้เย็นและเครื่องทำความเย็น (อาศัยจากหลักการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอของสาร)
3.ผลิตน้ำแข็งและไอศกรีม
4.ใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การเป่าแก้ว การบัดกรี
2.4 ปฏิบัติภาระงานตามการทดลองชุดกิจกรรมที่ 7.1โดยให้ทำเป็นกลุ่ม
ใบกิจกรรมที่ 7 .1 อุณหภูมิกับการเปลี่ยนสถานะของน้ำ
จุดประสงค์ เพื่อใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิต่างๆได้
สาร 1.น้ำแข็งทุบ
2.น้ำกลั่น
อุปกรณ์ 1.เทอร์มอมิเตอร์ 3.กระดาษแข็ง
2.ตะเกียงแอลกอฮอล์ 4.แท่งแก้ว
วิธีการทดลอง
1.ใส่น้ำแข็งที่ทุบจนละเอียดปริมาตร 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในบีกเกอร์ขาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2.วัดอุณหภูมิของน้ำแข็งในบีกเกอร์ บันทึกผล
3.จุดตะเกียงเพื่อให้ความร้อนแก่น้ำแข็ง ใช้แท่งแก้วคนน้ำแข็งอยู่ตลอดเวลา สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจากเทอร์มอมิเตอร์เมื่อน้ำแข็งละลายหมดพอดี ให้วัดอุณหภูมิของน้ำแข็งทันที บันทึกผล
4.ให้ความร้อนแก้น้ำในบีกเกอร์ต่อไปจนน้ำเริ่มเดือด วัดอุณหภูมิของน้ำเดือด บันทึกผล
5.ใช้เทอร์มอมิเตอร์เสียบทะลุกระดาษแข็ง แล้ววางปิดปากบีกเกอร์ โดยให้กระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์อยู่เหนือระดับน้ำเล็กน้อย เพื่อวัดอุณหภูมิของไอน้ำเดือด บันทึกผล
ตารางบันทึกผลการทดลอง
สถานะของน้ำ
อุณหภูมิ (°C)
1.น้ำแข็ง
2.น้ำแข็งหลอมเหลว
3.น้ำเดือด
4.ไอน้ำเดือด
สรุปผลการทดลอง
.........................................................................................................................
.........................................................................................................................
.........................................................................................................................
2.5 บูรณาการโดยให้ตัวแทนแต่ละกลุ่ม 1 คนไปศึกษาผลการทดลองของกลุ่มเพื่อนๆทั้ง 9 กลุ่ม แล้วบันทึกลงสมุดของตนเอง พร้อมมาชี้แจงให้เพื่อนภายในกลุ่มเข้าใจตรงกัน
2.6 นำเสนอผลงานโดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานหน้าห้องเรียนจาก การทดลองชุดกิจกรรมที่ 7.1
2.7 ประเมินผลสรุป เพิ่มเติมเนื้อหา และให้แบบฝึกหัด 1 ข้อ
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1.กิจกรรมอธิบายพลังงานความร้อนกับอุณหภูมิ
1.1.ใบรายชื่อนักเรียน (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9)
1.2.เนื้อหาเรื่อง พลังงานความร้อนกับอุณหภูมิ, คำถามจำนวน 2 คำถาม
1.3.เนื้อหาเรื่อง พลังงานความร้อนกับอุณหภูมิ
1.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.1, สมุดจดบันทึก
1.5.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
1.6.คำถามเพิ่มเติม
1.7.ประเมินผลสรุป
2.กิจกรรมระบุพลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสาร
2.1.ใบรายชื่อนักเรียน (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9)
2.2.เนื้อหาเรื่อง พลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสาร, คำถามจำนวน 2 คำถาม
2.3.เนื้อหาเรื่อง พลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสาร
2.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.1, สมุดจดบันทึก
2.5.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
2.6.บัตรกำหนดเวลา
2.7.แบบฝึกหัด
การวัดและประเมินผล
การวัดผล
1.วัดผลการอธิบายพลังงานความร้อนกับอุณหภูมิด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
2.วัดผลการอธิบายพลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสารด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
การประเมินผล
1.ประเมินผลการอธิบาย พลังงานความร้อนกับอุณหภูมิพบว่า นักเรียน ...... คน อธิบายพลังงานความร้อนกับอุณหภูมิไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่องพลังงานความร้อนกับอุณหภูมิ เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
2.ประเมินผลการอธิบาย พลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสารพบว่า นักเรียน ....... คน อธิบายพลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสารไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่องพลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสาร เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
บันทึกผลหลังการสอน
ผลการสอน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ปัญหา / อุปสรรค
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ ...................................................... ครูผู้สอน
(นางสาวปวีณา รอดเจริญ)
......./............/.........
วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)